ประโยชน์การวัดและวิเคราะห์การสั่นสะเทือน สำหรับเครื่องจักรหมุน
โดยทั่วไปการบำรุงรักษาจำแนกได้เป็น 3 ประเภท คือ การบำรุงรักษาเชิงแก้ไข(corrective maintenance , CM) , การบำรุงรักษาเชิงป้องกัน (Preventive maintenance, PM) และ การบำรุงรักษาตามสภาพ (Condition based maintenance, CBM) หรือ อีกชื่อนึก คือการบำรุงรักษาเชิงคาดการณ์ (Predictive maintenance, PdM)
การบำรุงรักษาตามสภาพ (condition based maintenance) คือ การบำรุงรักษาเมื่อต้องการบำรุงรักษา หรือ กล่าวได้ว่า การบำรุงรักษานี้จะดำเนินการก็ต่อเมื่อมีตัวชี้วัดที่บ่งชี้ ถึงความผิดปกติ หรือ ประสิทธิภาพการทำงานของอุปกรณ์หรือเครื่องจักรเริ่มเสื่อมสภาพ (wear out ) การบำรุงรักษาตามสภาพจะถูกนำไปใช้ในการประเมิน สภาพการบำรุงรักษาเครื่องจักร หรือ อุปกรณ์ในเวลาที่เหมาะสม โดย CBM อยู่บนพื้นฐานของการใช้ข้อมูลแบบ real-time เพื่อจัดลำดับความสำคัญและเพิ่มประสิทธิภาพของทรัพยากรการบำรุงรักษา การวัดและวิเคราะห์การสั่นสะเทือน (vibration analysis)เป็นเครื่องมือ หรือ วิธีการหนึ่ง ทึ่ถูกนำมาใช้ สำหรับประเมิน สภาพความผิดปกติทางกล (mechanical) ของเครื่องจักร อาทิ การเสียสมดุล(unbalance), การเยื้องศูนย์ของเพลา(shaft misalignment), การหลวมคลอนทางกล(mechanical loose) , การเสียหายของตลับลูกปืน (bearing fault) และ การเสียหายของฟันเกียร์ (gear analysis) เป็นต้น โดยข้อดีของการวัดและวิเคราะห์สัญญาณการสั่นสะเทือน คือ
ช่วยลดค่าใช้จ่ายด้านอุปกรณ์ กล่าวคือ การวัดและวิเคราะห์การสั่นสะเทือน สามารถช่วยลดค่าใช้จ่ายในการเปลี่ยนอุปกรณ์ ที่ไม่สมควรเปลี่ยน หรือ ยังไม่ถึงเวลาเปลี่ยน ได้เป็นอย่างดี
ช่วยลดค่าใช้จ่ายแรงงาน ถ้ามีการใช้การซ่อมแซมโดยกำหนดระยะเวลาสำหรับงานซ่อมแซมเครื่องจักร เราจะต้องทำการเปลี่ยน และ ซ่อมแซมเครื่องจักรโดยไม่จำเป็น ซึ่งในการซ่อม และ เปลี่ยนอุปกรณ์ ก็ย่อมต้องใช้ค่าใช้จ่ายด้านแรงงาน ถ้าเราสามารถลดค่าใช้จ่ายด้านเปลี่ยน หรือ ซ่อมอุปกรณ์ที่ไม่จำเป็นได้ มากเท่าไหร่ ค่าใช้จ่ายด้านแรงงาน ก็จะลดต่ำลงเท่านั้น
ช่วยลดเวลาในการผลิตที่หายไป กล่าวคือ เมื่อเราสามารถนำการวัดและวิเคราะห์การสั่นสะเทือน มาใช้ จะสามารถช่วยให้การคาดการณ์ความเสียหายของเครื่องจักร และ ลดโอกาสการหยุดฉุกเฉิน(break down) หรือ การหยุดเครื่องจักรโดยไม่ได้วางแผน (down times) ซึ่งจะช่วยให้กระบวนการผลิตสามารถผลิตได้อย่างต่อเนื่อง เราจะหยุดกระบวนการผลิต เพื่อซ่อมบำรุงรักษาเครื่องจักรก็ต่อเมื่อ เราวางแผน จะหยุดเท่านั้น
เพิ่มความปลอดภัยในการทำงานร่วมกับเครื่องจักร เนื่องจากการบำรุงรักษาเชิงคาดการณ์ จะช่วยให้สามารถแก้ปัญหาที่อาจเกิดได้รับการแก้ไขก่อนที่จะเกิดความเสียหาย ขึ้นกับเครื่องจักร จึงสามารถทำให้การทำงานร่วมกับเครื่องจักรเกิดความปลอดภัยกับพนักงาน ได้เป็นอย่างดี
ทำให้รายได้ขององค์กรเพิ่มขึ้น เนื่องจากสามารถทำนายความเสียหายของเครื่องจักรได้ก่อนที่เครื่องจักรจะเสียหาย ซึ่งจะช่วยลดต้นทุน(ค่าอุปกรณ์ที่ไม่จำเป็นต้องเปลี่ยน, ค่าแรงงาน) และ เวลาในการหยุดเครื่องจักรแบบไม่วางแผน ซึ่งจะทำให้กระบวนการผลิต ผลิตได้อย่างต่อเนื่อง ทำให้ประสิทธิภาพ โดยรวมเพิ่มมากขึ้นนั้นเอง
เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของพนังงานฝ่ายบำรุงรักษา ช่วยให้สามารถวางแผนงาน บำรุงรักษาเครื่องจักรได้อย่างแม่นยำ โดยสามารถเลือกบำรุงรักษาอุปกรณ์ หรือ เครื่องจักร จากความจำเป็นในการบำรุงรักษาก่อน
สำหรับผู้ที่ต้องการนำ เทคนิคด้านการวัด และ วิเคราะห์สัญญาณการสั่นสะเทือน ไปใช้ในการประเมินสภาพเครื่องจักรในโรงงานของท่านนั้นสามารถกระทำได้ดังต่อไปนี้
ผู้ที่ต้องการเรียนรู้ ปฏิบัติเอง ซึ่งโดยปกติควรมีบุคลากรที่มีพื้นฐาน ด้านงานวัดการสั่นสะเทือน, การใช้มาตรฐานในการประเมินระดับความรุนแรงของการสั่นสะเทือน เป็นต้น (อาจมีบุคลากรที่ได้รับการอบรมพื้นฐานงานวัดการสั่นสะเทือน) แต่ยังไม่มี เครื่องมือวัดการสั่นสะเทือน ควรเริ่มต้นจาก เครื่องมือวัดที่เรียกว่า Vibration meter หรือ มิเตอร์สำหรับวัดค่าการสั่นสะเทือน โดยปกติ มิเตอร์เหล่านี้ จากอ้างอิงมาตรฐาน ISO2373, ISO 2954 หรือ ISO10816 เป็นต้น โดยการใช้เครื่องมือวัดการสั่นสะเทือน ที่สามารถแสดงผลในหน่วย ความเร็ว (mm/sec, rms) หรือ (inch//sec, rms) ร่วมกับมาตรฐานที่ได้กล่าวมาข้างต้น รวมไปถึง หน่วยความเร่ง (Gs, mm/sec2)โดย 1 Gs = 9815 mm/sec2) นำมาสร้างเส้นแนวโน้ม(Trending) สำหรับประเมิน ความผิดปกติเกี่ยวกับตลับลูกปืน, ฟันเกียร์ เป็นต้น หรือสำหรับ มิเตอร์บางประเภทก็จะมีหน่วยที่จะช่วยในการประเมินสภาพแบริ่ง มาด้วยก็ได้
รูปที่1 แสดงกราฟเส้นแนวโน้ม

สำหรับโรงงานที่ ต้องการวินิจฉัยความผิดปกติของเครื่องจักร ต้องเตรียมความพร้อมทั้งทางด้านบุคคลากรที่สามารถวินิจฉัยสัญญาณ หรือ ที่เราเรียกกันว่า สเปกตรัม และ เครื่องมือที่สามารถแปรผลการสั่นสะเทือนให้อยู่ในรูปสเปกตรัมได้
รูปที่2 แสดงรูปแบบสัญญาณสเปกตรัม

แต่สำหรับผู้ที่ต้องการเริ่มต้นแต่ยังขาดบุคลากรด้านการวัด วิเคราะห์สัญญาณการสั่นสะเทือน แต่ ต้องการจะทำเทคโนโลยี ดังกล่าวมาใช้ ในการวินิจฉัยสภาพปัญหาของเครื่องจักร เพื่อใช้ในการวางแผนงานบำรุงรักษา รายเดือน หรือ รายปี ควรเลือกใช้วิธีการ outsourcing หน่วยงานภายนอกที่มีความ พร้อมทั้ง บุคลากร และ เครื่องมือในการวินิจฉัยสภาพความผิดปกติของเครื่องจักร
จากบทความข้างต้น อาจทำให้ผู้ที่กำลังให้ความสนใจจะนำเทคโนโลยีการวัดและวิเคราะห์การสั่นสะเทือนไปใช้ในโรงงาน ของท่าน ได้เข้าใจ และ เลือกใช้ วิธีการหรือกระบวนการที่เหมาะสมกับหน่วยงานของตน เพื่อจะได้ช่วยในการ ลดต้นทุนการบำรุงรักษา และ ประหยัดเวลา ในการดำเนินการ ต่างๆ ได้ดีขึ้น
หจก. อาร์เอพี เอ็นตอร์ไพรส์ แอนด์ เซอร์วิสเซส ให้บริการตรวจวัด และ วิเคราะห์การสั่นสะเทือนของเครื่องจักร ด้วยเครื่องมือที่ทันสมัย สามารถแสดงผลในรูป สเปกตรัม และ วินิจฉัยอาการ ความเสียหายของเครื่องจักร อาทิเช่น การเสียสมดุลย์, การเยื้องศูนย์, การหลวมคลอนทางกล, ความเสียหายของตลับลูกปืน, ความผิดปกติของฟันเฟือง เป็นต้น โดยให้บริการ ตรวจสอบสภาพเครื่องจักร และ ทำการเก็บข้อมูลแบบรายเดือน ด้วยบุคคลกรที่มีประสบการณ์ งานด้านการบำรุงรักษาเชิงคาดการณ์ มีใบรับรองการวิเคราะห์การสั่นสะเทือน (Vibration Analst CAT II) จากสถาบัน Vibration Institute of USA.